บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาการปลูกถั่วงอกในขวดปลอดสารพิษในครั่งนี้ไดค้นคว้าจากเอกสารในหัวข้อดังต่อไปนี้
1.
ลักษณะทั่วไปของถั่วงอก
2.
สรรพคุณของถั่วงอก
3.
วิธีการปลูกถั่วงอกโดยทั่วไป
4.
วิธีการปลูกถั่วงอกในขวดพลาสติก
5.
ประโยชน์ของถั่วงอก
1. ลักษณะทั่วไปของถั่วงอก
ถั่วงอก คือต้นอ่อนระยะเริ่มงอกของเมล็ด
แต่คนส่วนใหญ่มักนึกถึงเมล็ดของถั่วเขียวงอก
คนไทยคุ้นเคยกับถั่วงอกจากถั่วเขียวมาช้านาน
เมื่อกระแสเรื่องสุขภาพกำลังเป็นที่สนใจ ทำให้มีการนำเมล็ดพืชหลายชนิดมาเพาะเป็นต้นอ่อน
ทำให้ในปัจจุบันถั่วงอกและเมล็ดงอกที่เพาะขายเป็นการค้ามีหลายชนิด
เช่นถั่วงอเพาะจากถั่วเขียวเมล็ดเขียวและเมล็ดดำ ใช้เวลาเพาะประมาณ 3 วัน มีรสกรอบ
มีวิตามิน และเกลือแร่สูงถั่วงอกหัวโต หรือ ถั่วเหลืองงอก
ใช้เวลาเพาะนานวันกว่าถั่วงอก มีกลิ่นถั่วและเนื้อกระด้างกว่าถั่วงอก
หัวแข็งแต่มัน มีโปรตีนและไขมันสูงโต้วเหมี่ยว เพาะจากเมล็ดถั่วลันเตา หวานกรอบ
รสเหมือนถั่วลันเตา ใช้เวลาเพาะประมาณ 10 วันก็ได้ต้นอ่อนที่เก็บกินได้
มีวิตามินบี และวิตามินซีสูง เพาะจากเมล็ดหัวไชเท้า รสกรอบ หวานซ่า เล็กน้อย
มีวิตามินเอ วิตามินซี และโปแตสเซียมสูง อัลฟาลฟา (Alfalfa) เพาะจากถั่วลันเตาชนิดหนึ่ง
นิยมใช้เป็นผักสลัด มีโปรตีนและวิตามินบีสูงถั่วแดงงอก เพาะจากถั่วแดง หรือ adzuki
beans เพาะง่ายเหมือนถั่วเขียวงอก มีหัวโต ช่วยให้กรอบมัน
ถั่วลิสงงอก กรอบอร่อย มีรสมัน ถั่วลิสงเพาะยากกว่าถั่วอื่น ๆ เพราะขึ้นราได้ง่าย
ดังนั้นถึงแม้จะอร่อยมาก แต่กลับมีคนเพาะขายกันน้อย พบมากในภาคใต้ถั่วดำงอก กรอบ
มัน รสดี ไม่มีกลิ่นถั่วงางอก เพาะจากเมล็ดงาได้ไม่ยาก รสกรอบ และขมเล็กน้อย
มีโปรตีน ไขมัน และแร่ธาตุสูงเมล็ดทานตะวันงอก เมล็ดเพาะได้ง่ายโดยแกะเปลือกออกก่อน
มีกรดไขมันดีในปริมาณสูงปัจจุบันในต่างประเทศยังนิยมนำเมล็ดธัญพืชหลายชนิดมาทำเมล็ดงอก
เช่น ข้าวสาลีงอกข้าวโอ๊ตงอก ข้าวบาร์เลย์งอก ข้าวไรย์งอก ข้าวโพดงอก ฯลฯ
ทำให้ได้เมล็ดงอกที่หลากหลายมากขึ้นถั่วงอกและเมล็ดงอกอุดมไปด้วยโปรตีนและวิตามิน
คนเอเชียรับประทานถั่วงอกทั้งดิบและสุก จนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอาหารไปแล้ว
มีหลักฐานทางโบราณคดียืนยันว่า “คนจีน” เป็นชนชาติแรกที่รู้จักวิธีการเพาะถั่วงอกกินเป็นอาหารมาไม่น้อยกว่า 4,000
ปีแล้ว ซึ่งในสมัยนั้นจะใช้เมล็ดถั่วเหลืองในการเพาะ ทำให้ถั่วงอกที่ได้มีลักษณะหัวโต
จึงนิยมเรียกกันว่า “ถั่วงอกหัวโต” คนจีนโบราณใช้ถั่วเหลืองงอกเป็นแหล่งวิตามินซีในฤดูหนาวที่ผักและผลไม้หายาก
แม้แต่กะลาสีเรือก็กินถั่วงอกเพื่อช่วยป้องกันรักษาโรคลักปิดลักเปิดส่วนโปรตีนในถั่วงอกจะมีมากกว่าถั่วธรรมดาเล็กน้อย
นอกจากนั้น ในถั่วงอกยังมีวิตามิน บี 12 ซึ่งจำเป็นสำหรับการซ่อมแซมเซลล์
มีธาตุเหล็กและซิตินช่วยบำรุงสมองและระบบประสาท ถั่วงอกเป็นอาหารที่ย่อยง่าย
มีเส้นใยสูง เนื่องจากในกระบวนการงอกของเมล็ดถั่วโปรตีนจะถูกย่อยเป็นกรดอะมิโน
แป้งเป็นคาร์โบไฮเดรตหรือกลูโคส และไขมันกลายเป็นกรดไขมัน
ทำให้ร่างกายสามารถย่อยเพื่อนำไปใช้ได้อย่างง่ายดาย จึงช่วยเรื่องระบบการย่อยอาหาร
ไม่ต้องทำงานหนักเหมือนกับการกินเนื้อสัตว์ช่วยให้การขับถ่ายดี
2.
สรรพคุณของถั่วงอก
สรรพคุณของถั่วงอก ช่วยในการขับเสมหะ
ทำให้ปอดโล่งถั่วงอกเป็นผักที่ย่อยง่ายมากๆ การรับประทานถั่วงอกจะช่วยประหยัดเวลาการทำงานของระบบการย่ออาหารได้
และทำให้ขับถ่ายได้สะดวกถั่วงอก
สรรพคุณช่วยในการขับปัสสาวะการรับประทานถั่วงอกก่อนมีประจำเดือนจะช่วย
ป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติของประจำเดือนได้สรรพคุณถั่วงอกช่วยลดและกำจัด
ของเสียหรือสิ่งตกค้างในร่างกายได้ (Toxin)ถั่ว
งอกเป็นผักที่เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
หรือผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักเป็นพิเศษ
เนื่องจากถั่วงอกมีน้ำตาลที่น้อยมากๆธาตุซิลิกาในถั่วงอกมีส่วนช่วยป้องกัน
การหลุดล่วงของเส้นผมได้เป็นอย่างดี เพราะช่วยในการดูดซับวิตามินและแร่ธาตุต่างๆที่เรารับประทานเข้าไป
ถ้าหากไม่มีซิลิกาการรับประทานวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆก็จะไม่มีประโยชน์เลย
นอกจากนี้ยังมีการนำมาใช้ในการรักษาสิวและจุดด่างดำอีกด้วยประโยชน์ถั่วงอก
กับการนำมาใช้ประกอบอาหาร เมนูถั่วงอก หรืออาหารที่ประกอบไปด้วยถั่วงอกเช่น ยำถั่วงอกกุ้งสด
ผัดถั่วงอก ผัดผักต่างๆ แกงจืดถั่วงอกหมูสับ แกงส้ม ก๋วยเตี๋ยวต่างๆ
เกาเหลาทุกชนิด ผัดหมี่ซั่ว หมี่กะทิ ปอเปี๊ยะ ขนมหัวผักกาด เกี้ยวกุ้ง
ต้มยำถั่วงอกใส่หมูสับ ขนมจีน ผัดไทย ถั่วงอกดอกกินกับน้ำพริก เป็นต้น
3.
วิธีการปลูกถั่วงอกโดยทั่วไป
วิธีการเพาะถั่วงอก
1.ใช้เมล็ดถั่วเขียวประมาณ
1 ถ้วยตวง แช่ในน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 55-60 องศาเซลเซียส ประมาณ 1/2-1 ชั่วโมง
แล้วล้างเมล็ดถั่ว- เขียวให้สะอาด โดยล้างเอาสิ่งเจือปนต่างๆ
และเมล็ดที่พองตัวออกเพราะจะ เป็นเมล็ดอ่อน
เมล็ดที่ถูกแมลงทำลายและเมล็ดที่เสื่อมคุณภาพ ซึ่งเป็น
สาเหตุให้ถั่วงอกเน่าเสียหายได้ หลังจากนั้นแช่น้ำต่อไปอีก 8-10 ชั่วโมง หรือ 1
คืน
2. วันรุ่งขึ้นล้างเมล็ดที่แช่น้ำแล้ว
นำขึ้นมาผึ่งในตะแกรงสักครู่เมล็ด จะพองตัวขึ้นได้ประมาณ 2 ถ้วยตวง
จากเมล็ดถั่วเขียวแห้ง 1 ถ้วยตวง ถ้า เพาะในขวดน้ำมันพืชใช้เมล็ดที่แช่น้ำแล้วประมาณ
1 ถ้วยตวงต่อขวด สามารถเพาะได้ประมาณ 2 ขวด ใส่เมล็ดในภาชนะเพาะปิดทับเมล็ดด้วยผ้า
ขนหนู รดน้ำให้ชุ่มทุก 2-3 ชั่วโมง
3.
ปิดคลุมภาชนะเพาะอีกครั้งด้วยถุงเพาะสีดำ เพื่อไม่ให้โดนแสง
นำไปวางไว้ในร่มและเย็น
4. เมื่อเพาะถึงวันที่ 3 (ประมาณ
65-72 ชั่วโมง) นำมาล้างเอา เปลือกถั่วเขียวออกจะได้ถั่วงอกสำหรับบริโภค 1-2 มื้อ
5. ระยะเวลาในการเพาะถั่วงอกขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในช่วงเวลา ระหว่างการเพาะ
4.
วิธีการปลูกถั่วงอกในขวดพลาสติก
1.
นำถั่วเขียวที่อยู่ในถุงมาใส่ในขวด
จะได้ปริมาณเท่ากับ 1 ข้อของขวดจากนั้น ให้ทำความสะอาดถั่วเขียวด้วยน้ำธรรมดาสัก 1
ครั้ง
2.
หาแก้วกาแฟมาใส่น้ำร้อน (100
องศาเซลเซียส) 1 ส่วน นำมารวมกับน้ำธรรมดา 3 ส่วน จะได้น้ำอุ่นที่อุณหภูมิประมาณ
40-45 องศาฯ ให้ใส่น้ำที่ผสมกันลงไปในขวด นับจากชั้นถั่วเขียวขึ้นไปอีก 2 ข้อ
ดังรูป และแช่ถั่วเขียวในลักษณะขวดตั้งตรง ดังรูป เป็นระยะเวลาประมาณ 9 ชม.
3.
ตอนนี้ 6 โมงเช้าแล้ว
หลังจากแช่ถั่วเขียวผ่านมา 9 ชม.
จากนั้นให้ทำความสะอาดด้วยน้ำธรรมดา
1 ครั้งสัก 10-15 วินาที
4.
นำตะแกรงไนล่อน มาโอบล้อมขวด
ไว้เพื่อพรางแสงและไม่ให้เมล็ดถั่วเขียวหลุดออกมาจากขวด
โดยให้ปลายตะแกรงไนล่อนด้านหนึ่ง เสียบเข้าไปในฝาด้านที่เราเปิดฝาขวดเอาไว้
5.
จับให้ขวดนอนในถุงดำ ดังรูป
และนำกะละมังมาวางรองถุงดำ เพราะอาจจะมีน้ำหยดออกมาจากถุงดำ
6.
รวบปากถุงดำเบาๆ
7.
นำถุงดำที่รวบปาก
ไปวางในตำแหน่งที่สะดวกต่อการรดน้ำในครั้งต่อไป ซึ่งผมสะดวกวางไว้บนอ่างล้างจาน
แต่ยังมีสถานที่อื่นๆ ที่สามารถวางได้นอกเหนือจากอ่างล้างจาน เช่น
วางใต้อ่างล้างจาน หรือใต้อ่างล้างหน้าในห้องน้ำ หรือที่อื่นๆ
แล้วแต่สะดวกต่อการรดน้ำ
8.
การรดน้ำถั่วเขียว จะรด 5 ครั้งต่อวัน คือ...
6โมงเช้า 8โมงเช้า เที่ยงวัน 6โมงเย็น และ2ทุ่ม
(สูตรการรดน้ำถั่วงอก ==> 6 -8 - เที่ยง - 6 - 8)แต่เวลา
6 โมงเช้าแล้ว ท่านได้ทำความสะอาดถั่วเขียว ถือว่าได้รดมาแล้วครับ และเหลืออีก 4
ครั้งในวันนี้ วางแผนให้ดีในการรดน้ำนะครับ
ขณะนี้เวลา 8
โมงเช้าได้เวลารดน้ำแล้ว ท่านสามารถรดน้ำขวดถั่วเขียวขณะอยู่ในถุงดำเลยก็ได้
ดังรูป
การรดน้ำ
ให้ใส่น้ำลงในช่องที่เปิดเอาไว้ ระดับที่ใส่ก็แค่ท่วมถั่วเขียวก็พอครับ
9. วันนี้ยังเหลือเวลารดน้ำอีก
3 ครั้ง คือ เที่ยงวัน 6โมงเย็น และ2ทุ่ม
10.
ขณะนี้เวลาประมาณ 3 ทุ่ม ขณะนี้ถั่วงอกจะมีอายุ 24 ชม. แล้ว สภาพถั่วก็เป็นดังรูป
ในเวลานี้ถ้าต้องการนำถั่วงอกมารับประทานก็สามารถทานได้เลยนะครับ
รสชาติจะอร่อยไปอีกแบบนะครับ ไม่เชื่อลองนำไปทานดูซิครับ
11. ขณะนี้เวลา
6 โมงเช้าอีกแล้ว ท่านต้องรดน้ำในวันนี้อีก 5 ครั้งนะครับ คือ 6โมงเช้า
8โมงเช้า เที่ยงวัน 6โมงเย็น และ2ทุ่ม
(สูตรการรดน้ำถั่วงอก ==> 6 -8 - เที่ยง - 6 - 8)
12. ตอนนี้
3 ทุ่มหรือถ้านับเวลาก็จะได้ 48 ชม.แล้ว สภาพถั่วงอกก็เป็นดังรูป
(เอาไปทานได้แล้วเหมือนกันครับ)
13. เช้าของอีกวันหนึ่งแล้ว
ขณะนี้เวลาประมาณ 7-8 โมงเช้า หรือเวลาได้ผ่านไปประมาณ 60 ชม.แล้ว
สภาพของถั่วงอกก็เป็น ดังรูป พร้อมนำไปทำอาหารได้แล้ว
14. เมื่อได้ถั่วงอกแล้ว
การเอาออกจากขวด ขอให้ท่านคว่ำด้านที่มีฝาเปิดถั่วงอกลง แล้วค่อยๆ
เอากำปั้นทุบเบาๆ พร้อมตบด้านข้างขวดสลับกันไป
สักพักถั่วงอกก็จะไหลออกมาจากขวดเองส่วนขวดพลาสติกสามารถนำไปใช้เพาะถั่วงอกในครั้งต่อไปได้อีก
โดยใช้ถั่วเขียวไปใส่ในขวดปริมาณ 1 ข้อของขวดพลาสติก
กระบวนการเพาะถั่วงอกในขวดก็จะซ้ำตั้งแต่เริ่มต้นอีกครั้งหนึ่ง
5.ประโยชน์ของถั่วงอก
ถั่วงอกเป็นผักที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง
ซึ่งถือว่ามีประโยชน์อย่างมากสำหรับร่างกายมีส่วนช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้น ผิวนุ่ม
เปล่งปลั่งดูมีน้ำมีนวล
(วิตามินอี)การรับประทานถั่วงอกเป็นประจำจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงวิตามินซีจากถั่วงอกช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย
และยังช่วยป้องกันหวัดได้อีกด้วยช่วยบำรุงประสาทและสมอง และช่วยในการทำงานของสมอง
(เลซิทิน Lecithin)ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
เนื่องจากถั่วงอกเป็นที่ผักที่มีแคลเซียมสูงมีส่วนช่วยเพิ่มความหนาแนะของมวลกระดูก
ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนได้การรับประทานถั่วงอกเป็นประจำจะช่วยในการชะลอวัย
ต้านความแก่ คงความอ่อนเยาว์ เนื่องจากมีสารออซินอน (Auxinon) ที่
มีคุณสมบัติช่วยทำให้ร่างกายคงความเป็นหนุ่มเป็นสาวได้นานยิ่งขึ้นช่วยเพิ่ม
การไหลเวียนของเลือกในร่างกายมีส่วนช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิด
โรคมะเร็งได้ (ต้องเป็นถั่วงอกปลอดสารนะ)การรับประทานถั่วงอกเป็นประจำ
จะช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง
และการเกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลันได้ เพราะไปช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL)การรับประทานถั่วงอกจะช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย
วิตามินซีจากถั่วงอกเป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างมากในการสร้างฮอร์โมนระงับความเครียดต่างๆ
จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนวัยทำงานถั่วงอก
ประโยชน์ช่วยดับร้อนและปรับสมดุลของร่างกายได้เป็นอย่างดี
ช่วยลดระดับเอาโตรเจนในร่างกาย
เพราะฮอร์โมนของผู้หญิงมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างเซลลูไลท์
ช่วยเก็บน้ำและช่วยเร่งการผลิตไขมัน
ด้วยเหตุนี้ร่างกายจึงไม่ควรจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงเกินไป
มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตและซ่อมเซลล์ต่างๆในร่างกาย
(วิตามินบี12)ถั่วงอก สรรพคุณทางยาช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
หรือโรคลักปิดลักเปิด
-
"ถั่วงอก"
เป็นผลิตผลมาจากธัญพืช “ถั่วเขียว” ใช้เวลาเพาะ และโตเต็มที่แค่
เพียง 2-3 วัน ก็สามารถนำไปขายได้
ซึ่งปัจจุบันคนไทยนิยมบริโภคถั่วงอกกันมาก
จากความต้องการของตลาดที่มีค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ผลิต มีการใช้สารเคมีจำพวก สารเร่ง สารอ้วน
สารฟอกขาว (โซเดียม ไฮโดรซัลไฟต์) สารคงความสด(ฟอร์มาลีน) ซึ่งสารเหล่านี้ กระทรวง
สาธารณสุข ไม่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหาร เพราะล้วนเป็นสารที่มีพิษ ต่อร่างกายสูง
หากรับประทานเข้าไป อาจมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบประสาท
และอาจจะทำให้เสียชีวิตได้
ดังนั้น คณะผู้จัดทำโครงงาน จึงได้ศึกษาค้นคว้า
หาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ได้นำวิธีการเพาะถั่วงอกปลอดสาร
นั่นคือ"วิธีการเพาะถั่วงอกตัดราก"มาเพาะเพื่อวัตถุประสงค์ในการบริโภค
โดยเน้นเรื่อง"สะอาด ปลอดภัย ไร้สารพิษ
ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น
ทำให้เกิดทักษะจากการปฏิบัติงานสามารถมีรายได้กับตนเองและครอบครัว
จากการปฏิบัติโครงงานพบว่า
ถั่วงอกที่เพาะได้มี ลำต้น ตั้งตรงสม่ำเสมอ แข็งแรง รากยาว
(ตัดรากก่อนจำหน่าย)เก็บไว้ได้นาน 5 -7 วันโดยไม่มีกลิ่น
และยังคงสภาพเดิมไม่ต้องเสียเวลาเด็ดรากทิ้งก่อนนำไปปรุงอาหาร เพราะได้มีการ ตัดรากทิ้งแล้ว มีคุณค่าทางโภชนาการสูง รสชาติหวาน
มัน กรอบตามธรรมชาติ
และปลอดภัยต่อสุขภาพ
-
วิธีการ เริ่มต้นเขียนบล็อก
ก่อนที่เราจะสร้างบล็อกนั้นเราต้องมาทำความรู้จักก่อนว่า
บล็อก คืออะไร แล้วการจะสร้างบล็อกได้เราต้องทำอะไรบ้าง
ต้องเตรียมตัวหรือต้องมีความรู้อะไรบ้างถึงจะเขียนบล็อกได้
มาเริ่มกันเลยนะค่ะ
บล็อก
(blog)
คือ แหล่งบันทึกข้อมูลออนไลน์ ที่ทุกคนสามารถแบ่งปันข้อมูลต่างๆทั้งในเรื่องส่วนตัว
หรือเรื่องราวข่าวสารที่เป็นเรื่องของส่วนรวม องค์กร หน่วยงานต่างๆ
รวมถึงเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งสามารถเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็ว
เพราะสามารถทำได้ทุกที่ ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้
บล็อก (blog)
เป็นแหล่งรวบรวมเนื้อหาที่ทันสมัย และทันเหตุการณ์
ส่วนเนื้อหาของบล็อกก็แล้วแต่ผู้สร้างบล็อกจะสร้างสรรค์
บางคนก็เขียนบล็อกเพื่อเอาไว้อ่านคนเดียว บางคนทำเพื่อเสนอข้อมูลข่าวสาร
บางคนก็ทำเพื่อเป็นเครื่องมือประกอบธุรกิจ
ส่วนใหญ่ บล็อก (blog) เป็นข้อมูลที่ออกมาจากความคิด และประสบการณ์ของผู้เขียนบล็อกแต่ละคนโดยเรื่องราวที่เขียนอาจจะเป็นเรื่องส่วนตัว
เรื่องงาน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สัตว์เลี้ยง อาหาร บทเพลง กีฬา รวมรูปภาพ ฯลฯ
จุดเด่นของบล็อก
(blog)
คือ
- บล็อก (blog) เป็นบริการที่ใช้งานได้ฟรี
- บล็อก (blog) ใช้งานได้ง่าย สามารถปรับแต่งหน้าตาได้ตามความพอใจ
- บล็อก (blog) สามารถอัปเดตเนื้อหาได้รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์
- บล็อก (blog) สารถเชื่อมโยงลิงค์ออกไปได้ เช่นการเชื่อมไปยังเว็บที่เราสนใจ
- บล็อก (blog) สามารถสืบค้นข้อมูลได้สะดวก เพราะเราสามารถนำระบบค้นหาข้อมูลของ google
มาติดไว้ เพื่อค้นหาข้อมูลในบล็อกเราได้
-บล็อก (blog) แสดงความเป็นตัวของตัวเองได้สูง
เราสามารถกำหนดชื่อบล็อกและชื่อบทความในบล็อกได้ด้วยตัวเอง
ที่สำคัญเรายังสามารถเขียนบล็อกด้วยสำนวนในแบบฉบับของเราเอง
การเตรียมตัวในการสร้าง
บล็อก (blog)
1. วางแผนการทำบล็อก และคิด
Keyword ขึ้นมา
โดยการวางเป้าหมายว่าเราจะเขียนบล็อกเกี่ยวกับอะไร แล้วนำเรื่องเหล่านั้นมาสร้าง Keyword
โดยการสร้าง Keyword นั้นต้องสอดคล้องกับคำที่คนชอบค้นหาทาง
Google ด้วย
2. สร้างบล็อกให้เป็นมิตรกับ
SEO (Search Engine Optimizer) โดยการตั้งชื่อโดเมนด้วยการใส่
Keyword หลักลงไปด้วย
หลังจากที่เรามีเป้าหมายอย่างชัดเจนว่าจะเขียนบล็อกเกี่ยวกับอะไรแล้ว
เราก็จะทำการสมัครบล็อกฟรีซึ่งเว็บที่ให้สมัครบล็อกฟรีนั้นมีมากมายหลายเว็บด้วยกัน
เช่น Blogger,Wordpress,
Exteen ,Livejournal ฯลฯ แต่นำมาให้ท่านได้รู้จักเพียงบางส่านเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น